อสม.เมืองปากช่อง ร่วมใจรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย สกัดโรคชิคุนกุนยา หลังพบผู้ป่วยใน 3 ตำบล

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 15 พฤศจิกายน นพ.ณรงค์ศักดิ์ บำรุงถื่น ผอ.รพ.ปากช่องนานา อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พร้อมด้วย นายอรุณศักดิ์ รัตนะคุณชัย รองนายกเทศบาลเมืองปากช่อง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จาก ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.4 ศูนย์บริการสาธารณสุข ในเขตเทศบาลฯ นำอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง ทั้ง 23 ชุมชน 501 คน พร้อมด้วย จิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ จัดกิจกรรม เปิดโครงการบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ เดินรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย บริเวณชุมชน บขส.เก่า และชุมชนสะพานดำ เขตเทศบาลเมืองปากช่อง

สำหรับการลงพื้นที่จัดกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากเมื่อช่วงที่ผ่านมา ได้มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก ระบาดใน 3 ตำบล คือ ต.ปากช่อง ต.ขนงพระ และ ต.หนองสาหร่าย มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อไข้ชิคุนกุนยารวม 109 ราย และในเขตเทศบาลเมืองปากช่องมี 7 ราย ที่เข้ารักษาตัวที่ รพ.ปากช่องนานา เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยิงลาย เทศบาลเมืองปากช่อง โรงพยาบาลปากช่องนานา ได้นำ อสม รวม 23 ชุมชน กว่า 501 คน ลงพื้นที่กำจัดลูกน้ำยิงลายเพื่อไม่ให้แพร่ยุงลายในชุมชน และให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งนำกำลัง อสม. ลงพื้นที่ปูพรมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือนประชาชน นอกจากนี้ได้มีการพ่นหมอกควัน ใส่สารกำจัดลูกน้ำตามภาชนะต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ไข้ซิกก้า และไข้ชิคุนกุนยา โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนซึ่งพักอาศัยในพื้นที่เป็นอย่างดี

นพ.ณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น ผอ.รพ.ปากช่องนานา กล่าวว่า ยุงลาย สำหรับกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ในครั้งนี้ โรคไข้เลือดออก ( denque hemorrhaqic fever- dhf ) เป็นโรคติดเชื้อมาจากไวรัสเดงกี ไข้ชิคุนกุนยา โดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออกมาสู่คน ที่ผ่านมาพบว่ามีคนงานชาวต่างชาติ มาทำงานอยู่บริเวณสถานีบริการน้ำมันแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาล ได้เดินทางกลับประเทศ และคาดว่าถูกยุงกัด ก่อนจะกลับมาทำงานที่ประเทศไทย โดยโรคชิคุนกุนยา หรือไข้ปวดไขข้อกระดูกนั้น เริ่มแรกจะมีอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก แต่จะไม่ค่อยมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือไอมากเหมือนไข้หวัด จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองป่วยเป็นไข้หวัด จึงทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก

ในต่างประเทศพบว่ายุงลายยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส “ ซิก้า “ ที่มีผลต่อทารกหญิงที่ตั้งครรภ์ แม่ถูกยุงลายที่มีเชื้อ ซิก้า กัดปล่อยเชื้อ ทำให้มีผลต่อดารก ศรีษะเล็กหรือทำให้สมองเล็กผิดปกติ เด็กมีปัญหาการพัฒนาด้านสมอง และพบเชื้อไวรัสซิก้า ในประเทศไทยมานานตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เมื่อพบผู้ป่วยมีอาการตัวร้อนเป็นไข้สูง ตัวสั่น ให้ใช้ผ้าเย็นประคบและเช็ดตัว พร้อมรีบนำส่งแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษา การป้องกันควรกางมุ้งและติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงกัด ควรกำจัดลูกน้ำยุงลายตามแหล่งน้ำขังและภาชนะที่มีน้ำขังรอบบริเวณบ้านเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยุงลายพาหะนำเชื้อไข้เลือดออกสู่คน

นอกจากนี้ ยุงลายยังเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก นับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญของชุมชน หากไม่มีการเฝ้าระวังก็จะทำให้มีการแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเขตเทศบาลฯ เป็นพื้นที่ซึ่งมีประชากรอยู่ค่อนข้างหนาแน่น หากพบว่ามีบุคคลป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ถ้ายังไม่มีการควบคุมโรคอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง จนส่งผลกระทบต่อประชาชน อีกทั้งปากช่อง ยังนับได้ว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศ ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ก็อาจจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวได้ เพราะหากยุงที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออกบินจากชุมชนนี้ไปกัดคนในชุมชนที่ใกล้กันก็จะทำให้โรคไข้เลือดออกระบาดออกไป ฉะนั้นจึงได้สั่งการให้กองสาธารสุขออกพ่นสารกำจัดยุงลายทุกชุมชน ทุก 7 วัน เพื่อถอนลากถอนโคนยุงลายในช่วงหน้าฝน ทั้ง 23 ชุมชน

ด้านนายคมกฤษณ์ ลิ้มปัญญาเลิศ นายกเทศมนตรีเมืองปากช่อง กล่าวว่า กลุ่ม อสม.ทุกชุมชนจะออกตรวจสอบจุดขยายพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย ตามภาหะนะที่มีน้ำขังในบริเวณบ้าน วงจรชีวิตของยุงจะมีอายุประมาณ 7 วัน ซึ่งการกำจัดยุงนั้น จึงต้องมีการดำเนินการทุก 7 วัน เพื่อการควบคุมการขยายพันธุ์ของยุงลาย และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากโรคไข้เงือดออก เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสชื่อ denque virus โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเชื้อไข้เลือดออกมาสู่คนและ ส่วนใหญ่พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-14 ปี ในช่วงฤดูฝน ช่วงเดือน พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม สำหรับการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ชุมชนในครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการควบคุมโรคไข้เลือดออก ไม่ให้เกิดการระบาดตามมาตรการ 3-3-1 ของกระทรวงสาธารณสุข คือ หลังจากที่โรงพยาบาลพบผู้ป่วยไข้เลือดออก ให้รายงานหน่วยงานเกี่ยวข้องในพื้นที่ ภายใน 3 ชั่วโมง จากนั้น ให้จัดกำลัง อสม. เข้ากำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลุกน้ำยุงลายที่บริเวณบ้านของผู้ป่วย จากนั้น ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จัดส่งทีมเคลื่อนที่เร็วหรือ srrt ลงพื้นที่ดำเนินมาตรการควบคุมโรค ภายใน 1 วัน เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของโรค จากนั้นจึงมีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. ลงพื้นที่ เพื่อเป็นการตรวจสอบขยายพันธุ์ของยุง เนื่องจากวงจรชีวิตของยุงจะมีอายุประมาณ 7 วัน ซึ่งการกำจัดยุงนั้น จึงต้องมีการดำเนินการทุก 7 วัน เพื่อการควบคุมการขยายพันธุ์ของยุง และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Previous Article
Next Article

– เยาวชนไทย ก้าวสู่อาชีพในฝัน

คลังข่าวรายเดือน