กฟผ.นำสื่อมวลชน ดูความคืบหน้าการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนบริเวณเขายายเที่ยง และเขื่อนลำตะคอง พร้อมติดตามความคืบโครงการก่อสร้าง ศูนย์เรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง


เวลา 09.00 น. วันที่ 15 กันยายน 2560 ฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย รังสรรค์ รังสิกรรพุม หัวหน้าโครงการโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เครื่องที่ 3-4 และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเกี่ยวข้อง นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบสูบกลับ เครื่องที่ 3 และ 4 บริเวณอุโมงค์ใต้ดิน โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จากนั้นได้พาคณะสื่อมวลชน ดูสถานที่ติดตั้งโครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ 2 บริเวณเขายายเที่ยง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

โพสต์โดย ปากช่องทูเดย์ เมื่อ วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2017

นายรังสรรค์ รังสิกรรพุม หัวหน้าโครงการโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เครื่องที่ 3-4 เปิดเผยว่า การดำเนินการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบสูบกลับ ระยะที่ 2 นั้น จะมีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง คือเครื่องที่ 3 และ 4 โดยได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันสามารถดำเนินโครงการตามแผนงานไปกว่า ร้อยละ 65 ของปริมาณงาน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถทดลองเดินเครื่องได้ ในช่วงต้นปี 2561 และทั้งนี้หากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถทำงานได้เต็มระบบทั้ง 4เครื่องจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 1000 เมกะวัตต์

โพสต์โดย ปากช่องทูเดย์ เมื่อ วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2017

จากนั้นเจ้าหน้าที่ยังได้พาคณะสื่อมวลชนเข้าไปดูความคืบหน้าการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ 2 โดยสถานที่ดำเนินการโครงการอยู่ที่บริเวณเทือกเขายายเที่ยง ซึ่งมีการติดตั้งกังหันลมขนาดความสูง 96 เมตร จำนวน 12 ตัว แต่ละตัวจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2 เมกะวัตต์ ซึ่งเมื่อโครงการดำเนินการแล้วเสร็จกังหันลมระยะที่ 2 จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 24 เมกะวัตต์ นอกจากนี้สำหรับบริเวณที่ตั้งโครงการยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงามอีกด้วย

โพสต์โดย ปากช่องทูเดย์ เมื่อ วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2017

ต่อมาคณะสื่อมวลชนได้เข้าเยี่ยมชมโครงการก่อสร้าง ศูนย์เรียนรู้ กฟผ. ซึ่งทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีแผนดำเนินการโครงการก่อสร้างศูนย์เรียนรู้เพื่อให้ความรู้ด้านพลังงานทดแทนทุกรูปแบบ นอกจากนี้ศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าว มีการใช้พลังงานจากระบบพัฒนาเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม หรือ Wind Hydrogen Hybid อย่างเต็มระบบ ซึ่งการทำงานของระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการนำพลังงานจากลมมาแยกก๊าซไฮโดรเจน ออกจากน้ำ ก่อนนำไปผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งการพัฒนาระบบดังกล่าวเป็นผลงานวิจัยจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยจะดำเนินการนำมาทดลองใช้ที่ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. เป็นแห่งแรกของเอเชีย

โพสต์โดย ปากช่องทูเดย์ เมื่อ วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2017

ด้านตัวแทนจากฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยกว่า การพัฒนาโครงการต่างๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้น ก็เพื่อสร้างเสถียรภาพในการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย ลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ซึ่งการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานธรรมชาตินั้น นับได้ว่าเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดและยังเป็นพลังงานสะอาด อีกทั้งยังสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบันยังเป็นระบบที่ไม่มีการกักเก็บกระแสไฟ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจัดเก็บกระแสไฟฟ้านั้นมีราคาสูงกว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า อีกทั้งปัจจุบันช่วงเวลาการใช้กระแสไฟฟ้าจุดที่สูงสุดเปลี่ยนไป เจ้าหน้าที่จึงต้องทำการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพฤติกรรมการใช้กระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปของประชาชน

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่http://www.pakchongnews.com/news

โพสต์โดย ปากช่องทูเดย์ เมื่อ วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2017

Previous Article
Next Article

ใส่ความเห็น

– เยาวชนไทย ก้าวสู่อาชีพในฝัน

คลังข่าวรายเดือน