ผู้ว่าโคราชเรียกนายอำเภอพร้อมฝ่ายเกี่ยวข้อง ประชุมวางแนวทางแก้ปัญหาภัยแล้งลุ่มน้ำลำตะคอง

201
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เรียกนายอำเภอ เกษตรอำเภอ สำนักชลประทานเขต 8 รวมไปถึงฝ่ายเกี่ยวข้อง ประชุมวางแนวทางแก้ปัญหาภัยแล้งลุ่มน้ำลำตะคอง หลังพบมีน้ำเข้าเขื่อนน้อยกว่าที่คาดการไว้ ระบุขอความร่วมมือประชาชนลุ่มลำตะคอง งดทำนาปรัง พร้อมให้เกษตรอำเภอและปศุสัตว์อำเภอดูแล และจัดหาอาชีพที่เหมาะสมแนะนำประชาชน ลดความเดือดร้อนสร้างรายได้ให้เกษตรกร

202
เวลา 13.30 น. วันที่ 24 ตุลาคม 2559 นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ส่งหนังสือเรียกประชุมด่วนถึง นายอำเภอ สำนักชลประทานเขต 8 เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ ซึ่งดูแลพื้นที่ลุ่มลำน้ำลำตะคอง ณ ห้องประชุมพลับพลา เขื่อนลำตะคอง เพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้ง หลังพบว่าเขื่อนลำตะคอง มีปริมาณน้ำต้นทุนน้อยกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวว่า  สืบเนื่องมาจากว่าในปีนี้อ่างเก็บน้ำลำตะคองอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณน้ำที่กักเก็บได้เพียง 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 31 เปอร์เซ็นต์ของความจุของอ่าง ซึ่งสามารถใช้น้ำได้จริงเพียง 77 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าทุกปีโดนเฉพาะในรอบ 10 ปี น้ำในปีที่แล้วว่าน้อย ปีนี้น้อยกว่ามาก จึงได้เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเห็นหน่วยงานจากชลประทาน การประปา ทางเกษตร การปศุสัตว์ ทางอำเภอต่างๆ  มาพูดคุยกันเรื่องในการบริหารจัดการน้ำ ที่มีอยู่น้อยในปีนี้ของลุ่มน้ำลำตะคอง ให้สามารถเลี้ยงพี่น้องประชาชนตลอดฤดูแล้งนี้ได้อย่างไร ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี

204
สำหรับการจัดการจะเริ่มจากประเด็นแรกที่ต้องบริหารจัดการก็คือ  ความสามารถที่จะเลี้ยงการประปาทั้งของเทศบาลนครราชสีมาหรือประปาหมู่บ้านต่างๆที่อยู่บริเวณตั้งแต่อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมือง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ให้อยู่รอดไปตลอดฤดูแล้ง

ประเด็นที่สอง เราต้องลดการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก วันนี้เราได้มาพูดคุยและวางแผนในการไปพูดคุยกับพี่น้องประชาชนในการปรับเปลี่ยนพืชฤดูแล้ง จากเดิมที่เคยปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งในปีที่ผ่านมาเราพยายามที่จะลดการปลูกข้าวนาปรังแต่ก็ยังคงมีการปลูกถึงสองหมื่นกว่าไร่ ในปีนี้เราต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวนาปรังไปเป็นการปลูกพืชฤดูแล้งประเภทอื่น แต่ทั้งนี้เราไม่ต้องการให้พี่น้องประชาชนเลิกทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง เราต้องจัดหาตัวเลือกอื่นเพื่อให้พี่น้องมีรายได้มีอาชีพพอที่จะอยู่ได้ในฤดูแล้ง ตอนนี้มีอาชีพที่เราเสนอกันก็อย่างเช่น ข้าวโพด หรือพืชผักอย่างอื่นรวมถึงผลไม้ต่างๆ ซึ่งก็จะทำให้พี่น้องเกษตรกรมีรายได้

203
นายวิเชียร ยังได้กล่าวอีกว่า ในปีนี้เราจะเริ่มประชาสัมพันธ์ให้เร็วขึ้น เพื่อให้เกษตรส่วนหนึ่งได้เตรียมตัว เนื่องจากว่าข้าวนาปีที่ปลูกในลุ่มน้ำลำตะคองยังไม่มีการเก็บเกี่ยวข้าว เพราะฉะนั้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน เราจะให้เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลทุกตำบลไปพบกับเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังในปีที่ผ่านมา และแนะนำอาชีพหรือการทำการเกษตรประเภทอื่น ให้พี่น้องเลือกแทนการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อให้เห็นถึงความห่วงใยของทางราชการที่มีต่อพี่น้องว่า ในปีต่อไปนี้น้ำมีไม่เพียงพอจริงๆ แต่เราจะไม่ทอดทิ้ง เราจึงไม่อยากให้พี่น้องงดปลูกข้าวนาปรังแล้วไม่มีรายได้อะไร เราจะหาอาชีพอื่นๆไปส่งเสริมให้ จะทำให้มีรายได้ชดเชยการทำนาปรัง

205
นายสินชัย  พึ่งตำบล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปิดเผยว่า คณะทำงานฝนหลวง ได้มีการขึ้นบินโปรยสารฝนหลวง พื้นที่ต้นน้ำเหนือเขื่อนลำตะคองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สำหรับการขึ้นบินเพื่อโปรสารฝนหลวงนั้น ตนได้มีการประสานงานกับกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่องเพื่อวางแผนการรวบรวมและโจมตีก้อนเมฆ เพื่อให้ฝนตกในพื้นที่ที่ต้องการนั้น ที่ผ่านมานับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังถือว่าไม่เพียงพอ ทั้งนี้สำหรับสาเหตุที่ทำให้ฝนตกน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพความชื้นในพื้นที่ที่ลดลงเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การที่ขยายออกเป็นบริเวณกว้าง จนส่งผลกระทบต่อปริมาณกลุ่มก้อนเมฆฝนในอากาศด้วย

Previous Article
Next Article

ใส่ความเห็น

– เยาวชนไทย ก้าวสู่อาชีพในฝัน

คลังข่าวรายเดือน