สมาคมเลี้ยงสุกรแห่งชาติรวมตัวยื่นแถลงการณ์สอบถามวัคซีนป้องกันโรคติดต่อในสัตว์ได้มาตรฐานหรือไม่

IMG_0699
สมาชิกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรกว่า 100 คน รวมตัวยื่นแถลงการณ์ต่อนายสัตวแพทย์ นิเทศ เลิศลิมชลาลัย ผอ.สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ หลังมีข้อสงสัยว่าวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ ที่ใช้กับโคนม โคเนื้อ แพะ แกะ และสุกร ได้มาตรฐานหรือไม่

เวลา 10.30 น. วันที่ 8 กรกฎาคม 59 นายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม และนายสัตวแพทย์วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ พร้อมสมาชิกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจากหลายจังหวัด รวมกว่า 100 คน เดินทางมาที่ สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ.นครราชสีมา ยื่นแถลงการณ์ต่อนายสัตวแพทย์ นิเทศ เลิศลิมชลาลัย ผอ.สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ เพื่อสอบถามถึงมาตรฐานวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคในการเลี้ยงสัตว์

S__4407436

โดยคณะสมาชิกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อแจ้งถึงปัญหาอุปสรรคและข้อซักถามโดยใช้เวลากว่า 1.30 ชม. และยื่นแถลงการณ์ต่อนายสัตวแพทย์ นิเทศ เลิศลิมชลาลัย ผอ.สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ (กองวัคซีนและเซรุ่ม) กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีเนื้อหาดังนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2496 โรคปากและเท้าเปื่อย หรือ FMD เริ่มระบาดในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 63 ปีมาแล้ว เกษตรกรภาคปศุสัตว์ของไทย ประกอบด้วย โคเนื้อ โคนม แพะ แกะ และสุกร ได้รับความเสียหายจากการระบาดของโรคนี้มาโดยตลอด ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวมิได้เบาบางลงแต่อย่างใด มีการระบาดกลับไปกลับมาอย่างไม่สิ้นสุด ไม่ได้หายขาดไปจากประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐและเอกชนในภาคเกษตรปศุสัตว์ จะต้องหันหน้ามาร่วมมือร่วมใจกันเพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้เบ็ดเสร็จอย่างเป็นรูปธรรม โรค FMD หรือโรคปากเท้าเปื่อย ซึ่ง WTO ถือว่าเป็นโรคที่เข้าข่ายเป็นข้อจำกัดของการค้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่ต้องห้ามสำหรับการส่งออกสินค้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากประเทศที่เป็นพื้นที่การระบาดรวมทั้งประเทศไทย ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าในภาคปศุสัตว์ของไทยอ่อนแอ ในยุคการค้าเสรีของโลก โดยมีต้นทุนในการป้องกันและการดูแลสูงขึ้น สร้างความยากลำบากในแต่ละมิติของการแข่งขันทางการค้า ไม่สามารถแก้ปัญหาการระบาดได้อย่างสมบูรณ์ บางฟาร์มมีการระบาดตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันเดือนกรกฎาคม 2559 ยังคงมีการติดเชื้อ ทั้งๆ ที่มีการใช้วัคซีนจากกรมปศุสัตว์อย่างต่อเนื่อง เป็นในตัวเดิมที่หายป่วยแล้ว โดยมีฟาร์มอีกจำนวนมากที่ติดเชื้อเรื้อรังแต่ไม่ได้มีการเปิดเผยทั้งจำนวนที่ติดเชื้อและมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ระยะห่างของการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ 1-6 เดือน แล้วกลับมาระบาดใหม่ ทั้งที่มีใช้วัคซีนควบคุมโรค วัคซีนที่ใช้กันและซื้อมาใช้ตรงกับเชื้อที่ระบาด เป็นที่ทราบกันว่าเชื้อที่ทำวัคซีนไม่ได้เปลี่ยนแปลงมานานมาก มีข้อสงสัยว่าจะสามารถป้องกันโรคปัจจุบันได้หรือ ในเมื่อเชื้อเปลี่ยนไปตลอด ขอคำยืนยัน และการผลิตมีมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ หากไม่เพียงพอ สมาคมฯ จะประสานกับ กลุ่มเกษตรกร มหาวิทยาลัย กรมปศุสัตว์ และผู้ร่วมทุน เพื่อมาร่วมผลิต วิจัยให้ทันกับโรคระบาดดังกล่าว

S__4407441

ด้านนายสัตวแพทย์นิเทศ กล่าวว่า การผลิตวัคซีน ของสำนักเทคโนโลยีฯ เป็นไปตามมาตรฐาน ของ OIE ทั้งการผลิตและการทดลอง โดย สามารถผลิตได้ 3.2 ล้านโดสต่อเดือน มีการทดลองและวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์ สัตวแพทย์ และผู้เกี่ยวข้องมาโดยตลอด และยังบอกไปถึงสมาคมผู้เลี้ยงสุกรด้วยว่า ถ้ามีผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ มาร่วมกันวิจัย เพื่อหาทางต่อสู้กับโรคระบาดก็ยินดีไม่กีดกัน

ขอบคุณภาพ :: ทีมข่าวปากช่องไทม์

Previous Article
Next Article

ใส่ความเห็น

– เยาวชนไทย ก้าวสู่อาชีพในฝัน

คลังข่าวรายเดือน